วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบกีฬาฟุตบอล

https://docs.google.com/spreadsheet/viewform?formkey=dEZNd2oyLWhWMGE4cm45Wk55bzQyNlE6MQ

แบบทดสอบกีฬาฟุตบอล

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. ประเทศไทยมีการเริ่มเล่นฟุตบอลตั้งแต่เมื่อใด

    ก. รัชกาลที่ 4
    ข.
    รัชกาลที่ 5
    ค.
    รัชกาลที่ 6
    ง.
    รัชกาลที่ 7
2.าติใดที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโลกมากที่สุดถึง 5 ครั้ง

    เยอรมันตะวันตก.
    ข.
    อังกฤษ
    ค. อิตาลี
    ง. บราซิล
3. การแข่งขันฟุตบอลโลกจัดให้มีขึ้นกี่ปีต่อครั้ง
    ก. 2 ปี / ครั้ง
    ข. 3 ปี / ครั้ง
    ค. 4 ปี / ครั้ง
    ง. 5 ปี / ครั้ง
4. บุนเดสลีกา เป็นการแข่งขันฟุตบอลที่จัดขึ้นในประเทศใด
    ก. อิตาลี
    ข. เยอรมัน
    ค. อังกฤษ
    ง. บราซิล
5. การเล่นฟุตบอลที่มีแบบแผนเหมือนปัจจุบันได้เริ่มขึ้นที่ใด
    ก. อังกฤษ
    ข. เยอรมัน
    ค. กรีก
    ง. โรมัน
6. การเล่นฟุตบอลสมัยใหม่เป็นอย่างไร
    ก. ยืนเป็นแถว 3 แถว หน้า กลาง หลัง
    ข.
    มีตำแหน่งกองหน้า กองกลาง กองหลัง
    ค.
    ทุกตำแหน่งสามารถเล่นทดแทนกันได้
    ง.
    เน้นการเป็นฝ่ายรับมากกว่าฝ่ายรุก
7. การเล่นแบบใดที่มีกองหลังทางซ้ายและขวาขึ้นมาช่วยส่งเสริมเกมรุุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    ก. 4 - 2 - 4
    ข. 4 - 3 - 3
    ค. 3 - 5 - 2
    ง. 4 - 4 - 2
8. เป็นระบบการเล่นที่สามารถเล่นทั้งรุก และรับได้อย่างดี
    ก. 4 - 2 - 4
    ข. 4 - 3 - 3
    ค. 3 - 5 - 2
    ง. 4 - 4 - 2
9. การเล่นตามระบบใดที่ทำให้เกิดพื้นที่ว่างมากในแดนกลาง


    ก. 4 - 2 - 4
    ข. 4 - 3 - 3
    ค. 3 - 5 - 2
    ง. 4 - 4 - 2
10. สนามฟุตบอลที่ถูกต้องควรมีลักษณะอย่างไร
    ก.เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตตุรัส
    ข.ยาว 110-120 หลา กว้าง 70-80 หลา
    ค.จากเสาประตูออกไป 5 หลา เป็นเขตประตู
    ง. ถูกทุกข้อ

บทที่ 2 กีฬาฟุตบอล

ประวัติกีฬาฟุตบอล
ฟุตบอล (Football) หรือซอคเก้อร์ (Soccer) เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขันและเข้าร่วมเล่น
มากที่สุดในโลก
ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน
เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี
ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ซูเลอ" (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio)
มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน
ทั้งสองประเทศอาจจะถกเถียงกันว่า
กีฬาฟุตบอลถือกำเนิดจากประเทศของตน
อันเป็นการหาข้อยุติไม่ได้ เพราะขาดหลักฐานยืนยันอย่างแท้จริง
ดังนั้น ประวัติของกีฬาฟุตบอลที่มีหลักฐานที่แท้จริงสามารถจะอ้างอิงได้ เพราะการเล่นที่ม
ีกติการการแข่งขันที่แน่นอน
คือประเทศอังกฤษเพราะประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอล
ในปี พ.ศ. 2406 และฟุตบอลอาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431
วิวัฒนาการด้านฟุตบอลจะเป็นไปพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ตลอดมา ต้นกำเนิดกีฬาตะวันออกไกลจะได้รับอิทธิพลมาจากสงครามครั้งสำคัญๆ เช่น
สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้นำเอา "แกลโล-โรมัน" (Gello-Roman)
พร้อมกีฬาต่างๆ เข้ามาสู่เมืองกอล (Gaul) อันเป็นรากฐานส่วนหนึ่งของกีฬาฟุตบอลในอนาคต
และการเล่นฮาร์ปาสตัม (Harpastum) ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นกีฬาซูเลอ

วิวัฒนาการของฟุตบอล
ภาคตะวันออกไกล
ขงจื้อได้กล่าวไว้ในหนังสือ "กังฟู" เกี่ยวกับกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาที่ใช้เท้า
และศีรษะในสมัยจักรพรรดิ์ เซิงติ (Emperor Cneng Ti) (ปี 32 ก่อนคริสตกาล)
มีการเล่นกีฬาที่คล้ายกับฟุตบอลซึ่งเรียกว่า"ซือ-ซู" (Tsu-Chu) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกหนังด้วยเท้า

กีฬาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ซึ่งนักประพันธ์และนักประวัติศาสตร์ในสมัยนั้นได้ยกย่อง
ผู้เล่นที่มีชื่อเสียงให้เป็นวีรบุรุษของชาติ
และในสมัยเดียวกันได้มีการเล่นคล้ายฟุตบอลใน
ประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย
ภาคตะวันออกกลาง
ในกรุงโรม ความเจริญของตะวันออกไกลได้แผ่ขยายถึงตะวันออกกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอิทธิพลของสงคราม
โดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
การเล่นกีฬาชนิดหนึ่งเรียกว่า ฮาร์ปาสตัม เป็นกีฬาที่นิยมของชาวโรมัน
และชาวกรีกโบราณวิธีการเล่นคือ มีประตูคนละข้าง
แล้วเตะลูกบอลไปยังจุดหมายที่ต้องการ เช่น
จากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง
การเล่นจะเป็นการเตะ หรือการขว้างไปข้างหน้าฮาร์ปาสตัม
หมายถึงการเหวี่ยงไปข้างหน้า
การเล่นกีฬาฮาร์ปาสตัมในกรุงโรมดูเหมือนจะเป็นต้นกำเนิด
ของกีฬาซึ่งมีการเล่นในสมัยกลาง
ในการเล่นฮาร์ปาสตัม ขนาดของสนามจะเล็กกว่าสนามกีฬาซูเลอ แต่จุดประสงค์ของกีฬาทั้งสอง
คือ การนำลูกบอล ไปยังแดนของตน
แต่เนื่องจากมีเสียงอึกทึกโครมครามจากการวิ่งแย่งลูกบอล
ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้มากมาย อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า จึงมีพระบรมราชโองการในนาม
ของพระเจ้าแผ่นดินห้ามเล่นกีฬาดังกล่าวในเมือง
ผู้ฝ่าฝืนมีโทษถึงจำคุก นอกจากนี้ยังมีข้อห้าม
ซึ่งออกในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.1892 ขอให้เล่นยิงธนูในวันฉลองต่าง ๆ แทนการเล่นเกมฟุตบอล
ในโอกาสต่อมากีฬาฟุตบอลได้จัดให้มีการแข่งขันกันอีกครั้ง ซึ่งเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างทีมต่างๆ
ที่อยู่ห่างกันประมาณ 3-4 ไมล์ ( 5-6.5 กิโลเมตร- )
ในปี พ.ศ. 2344 กีฬาชนิดนี้ได้ขัดเกลาให้ดีขึ้น มีการกำหนดจำนวนผู้เล่นให้เท่ากันในแต่ละข้าง
ขนาดของสนามอยู่ในระหว่าง 80 - 100 หลา (73-91 เมตร) และมีประตูทั้งสองข้างที่ริมสุดของสนาม
ซึ่งทำด้วยไม้ 2 อัน
ห่างกัน 2-3 ฟุต
ในปี พ.ศ. 2366 ได้จัดให้มีการเล่นฟุตบอลในรูปแบบของการเล่นใน ปัจจุบัน William Alice
คือผู้เริ่มวางกฎบังคับต่างๆ สำหรับกีฬาฟุตบอลและรักบี้ ในปี พ.ศ. 2393 ได้มีการออกระเบียบ
และกฎของการเล่นไปสู่ ดินแดนต่างๆ ให้ปฏิบัติตาม
โดยจำกัดจำนวนผู้เล่นให้มีข้างละ 15-20 คน
ในปี พ.ศ. 2413 มีการกำหนดผู้เล่นให้เหลือข้างละ 11 คน โดยมีผู้เล่นกองหน้า 9 คน และผู้เล่น
รักษาประตู 2 คน
โดยผู้รักษาประตูใช้เท้าเล่นเหมือน 9 คนแรกจนกระทั่งให้เหลือผู้รักษาประตู 1 คน
แต่อนุญาตให้ใช้มือจับลูกบอลได้ในปี พ.ศ. 2423
ในปี พ.ศ. 2400 สโมสรฟุตบอลได้ก่อตั้งเป็นครั้งแรกที่เมืองเซนพัสด์ประเทศอังกฤษ
และต่อมาในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2406 สโมสรฟุตบอล 11 แห่งได้มารวมกันที่กรุงลอนดอน
เพื่อก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น
ซึ่งถือเป็นรากฐานในการกำเนิดสมาคมแห่งชาติ จนถึง 140 สมาคม และทำให้ผู้เล่นฟุตบอลต้องเล่นตามกฎและกติกาของสมาคมฟุตบอล จนเวลาผ่านไปจากคำว่า
Association ก็ย่อเป็น Assoc และกลายเป็น Soccer ขึ้นในที่สุด
ซึ่งนิยมเรียกกันในประเทศอังกฤษ
แต่ชาวอเมริกันเรียกว่า Football หมายถึง American football
ภายนอกเกาะอังกฤษ พวกกะลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า วิศวกร หรือแม้แต่นักบวชได้นำกีฬาชนิดนี้
ไปเผยแพร่ ประเทศเดนมาร์กเป็นประเทศที่ 2 ในยุโรป
ในอเมริกาใต้ สโมสรแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศอาร์เจนตินา เมื่อพี่น้องชาวอังกฤษ 2 คน ได้ลงข้อความโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของเมืองบูเอโนสไอเรส (Buenos Aires) เพื่อ หาผู้อาสาสมัคร
ในปี พ.ศ. 2427 กีฬาฟุตบอลก็กลายมาเป็นวิชาหนึ่งในโรงเรียนของเมืองบูเอโนสไอเรส

การแข่งขันระดับชาติครั้งแรกในทวีปอเมริกาใต้ คือ
การแข่งขันระหว่างอาร์เจนตินากับอุรุกวัย
ในปี พ.ศ.2448 แต่อเมริกาเหนือเริ่มแข่งขันเมื่อปี พ.ศ. 2435
ในอิตาลี ฮาร์ปาสตัมเป็นต้นกำเนิดจิโอโค เดล คาลซิโอ ผู้เล่นกีฬาจะเป็นผู้นำทางสังคม
หรือแม้แต่ผู้นำชั้นสูงของศาสนา
เช่นสันตปาปา เกลาเมนต์ที่ 7 ลีออนที่ 10 และเออร์เบนที่ 7
เป็นถึงแชมเปี้ยนในกีฬาฟลอเรนไทน์ฟุตบอล
ต่อมาชาวโรมันได้ดัดแปลงเกมการเล่นฮาร์ปาสตัมเสียใหม่
โดยกำหนดให้ใช้เท้าแตะลูกบอลเท่านั้น ส่วนมือให้ใช้เฉพาะการทุ่มลูกบอล ซึ่งนักรบชาวโรมัน นิยมเล่นกันมาก
กีฬาฮาร์ปาสตัมซึ่งมีต้นกำเนิดจากสมัยโรมันได้ถูกแปลงมาเป็นกีฬาซูลอหรือซูเลอ
กีฬาชนิดนี้เหมือนกับฮาร์ปาสตัม คือ นำลูกบอลกลับไปยังแดนของตน แต่สนามมีขนาดกว้างกว่ามาก
การเล่นซูเลอมักจะมีขึ้นในบ่ายวันอาทิตย์หลังการสวดมนต์เย็น จะมีการแข่งขันสำคัญในช่วงเวลาดีคาร์นิวาล กีฬาชนิดนี้เป็นที่นิยมมากในเขตปริตานีและมอร์ลังดี กีฬานี้ได้ถูกเผยแพร่ไปยังอังกฤษโดยผู้ติดตาม
ของวิลเลี่ยมผู้พิชิตภายหลัง
การรบที่เฮสติ้ง (Hasting)
เมื่อ 900 ปีกว่ามาแล้ว ประเทศอังกฤษได้ตกอยู่ในความปกครองของพวกเคนส์ เชื้อสายโรมัน
ซึ่งยกกองทัพมาตีหมู่เกาะอังกฤษตอนใต้ และได้ปกครองเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 1589 อังกฤษเริ่มเข้มแข็งขึ้น และสามารถขับไล่พวกเคนส์ออกจากประเทศได้ หลังจากนั้น 2-3 ปี อังกฤษจึงเริ่มปรับปรุงประเทศเป็นการใหญ่
มีการขุดอุโมงค์ตามพื้นที่หลายแห่ง
ซึ่งในการขุดอุโมงค์คนงานคนหนึ่งได้ขุดไปพบกะโหลกศีรษะใน
บริเวณที่เคยเป็นสนามรบ
และเป็นที่ฝังศพของพวกเคนส์มาก่อนทุกคนในที่นั้นแน่ใจว่าเป็นกะโหลกศีรษะ
ของพวกเคนส์
อารมณ์แค้นจึงเกิดขึ้นทันทีเมื่อต่างคนต่างคิดถึงเหตุการณ์ที่ถูกพวกเคนส์กดขี่ทารุณจิตใจ
คนอังกฤษในสมัยนั้นด้วยเหตุผลนี้
คนงานคนหนึ่งจึงเตะกะโหลกศีรษะนั้นทันที ส่วนคนอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้นก็พากันหยุดงานชั่วคราว แล้วหันมาเตะกะโหลกศีรษะเป็นการใหญ่ เพื่อระบายอารมณ์แค้นที่เก็บไว้อย่างสนุกสนาน ผลที่สุดเมื่อพวกนี้หากะโหลกศีรษะเตะกันไม่ได้ก็เอาถุงลมของวัวมาทำเป็นลูกกลมขึ้นเตะแทนกะโหลกศีรษะ
ปรากฏว่าเป็นที่รื่นเริงสนุกสนามกันมาก
ต่อมาชาวโรมันได้นำเกมนี้ไปเล่นในอังกฤษ จากนั้นชาวอังกฤษก็ได้ปรับปรุงวิธีการเล่น
เทคนิคการเล่น
ตลอดจนกติกาให้เหมือนในสมัยปัจจุบัน คือเกมฟุตบอลที่ใช้เท้าเล่น
แต่ในระยะแรกของการเล่นฟุตบอลจะเล่นกันเป็นกลุ่มๆ เฉพาะพวกคนธรรมดาเท่านั้น

ไม่มีการจำกัดจำนวนผู้เล่น ประตูจะห่างกันเป็นไมล์ และใช้เวลาในการเล่นหลายชั่วโมง

จะเป็นการเล่นระหว่างทหารใหม่ที่ถูกเกณฑ์ นักบวช คนที่แต่งงานแล้ว คนโสด และพวกพ่อค้า
เกมชนิดได้กลายเป็นสิ่งฉลองในงานพิธีต่างๆ เช่น ในวันโชรพ ทิวส์เดย์ (Shrove Tuesday)
จะมีฟุตบอลนัดสำคัญให้คนได้ชม
เกมในสมัยนั้นจะเล่นกันอย่างรุนแรงและมีการบาดเจ็บกันมาก
ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 1857 พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 2 ได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกา
เนื่องจากมีเสียงอึกทึกครึกโครมจาการวิ่งแย่งลูกบอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุมากมาย
อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า
โดยห้ามเล่นกีฬาดังกล่าว ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุก
ฟุตบอลได้เริ่มแข่งขันภายใต้กฎของสมาคมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2412
ระหว่างทีมรัตเกอร์กับทีมบรินท์ตัน
จากนั้นกิจการฟุตบอลได้เจริญขึ้นช้าๆ
ในต่างจังหวัดจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการตั้ง
สมาคมฟุตบอลต่างจังหวัดขึ้นในปี พ.ศ. 2450 และมีการฝึกสอนในปี พ.ศ. 2484
ในทวีปเอเชีย อินเดียเป็นประเทศแรกที่เริ่มเล่นฟุตบอล ศาสตราจารย์จากวิทยาลัยกัลกัตตา
เป็นผู้นำสำเนากฎหมายการเล่นมาเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2426 และในปี พ.ศ. 2435
ได้มีการแข่งขันชิงถ้วยรางวัลเป็นครั้งแรกในทวีปซึ่งยังไม่มีชื่อเสียงในด้านการเล่นฟุตบอล

กีฬาชนิดนี้ก็ได้เริ่มมีการเล่นมาก่อนร่วมร้อยปีแล้ว เช่น สมาคมฟุตบอลแห่งนิวเซาท์เวลส์
ได้ถูกตั้งขึ้นในออสเตรเลีย ปี พ.ศ. 2425 และสมาคมฟุตบอลของนิวซีแลนด์ได้ถูกตั้งขึ้นหลังจากนั้น 9 ปี
ในแอฟริกา สมาคมระดับชาติแห่งแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้
แต่อียิปต์เป็นประเทศแรกที่มีการแข่งขันระดับชาติในปี พ.ศ. 2467 คือ 3 ปี
หลังจากที่ได้ก่อตั้งสมาคมขึ้น
และอียิปต์สามารถเอาชนะฮังการีได้ 3-0 ในกีฬาโอลิมปิกที่ปารีส
การแข่งขันระดับชาติเป็นการแข่งขันระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2415 และในปีแรกของศตวรรษที่ 20 โดยประเทศยุโรปอื่นๆ อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2447 กลุ่มประเทศต่างๆ ในแถบนี้ได้ประชุมกันที่ปารีสเพื่อตั้งสมาคมฟุตบอลนานาชาติขึ้น ในครั้งแรกก่อนการจัดตั้งสหพันธ์ 20 วัน สเปนและเดนมาร์กไม่เคยร่วมการแข่งขันระดับชาติมาก่อน และ 3 ประเทศใน 7 ประเทศ
ที่เข้าร่วมประชุมยังไม่มีสมาคมฟุตบอลในชาติของตน
แต่ฟีฟ่าก็แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยมา
โดยมีสมาชิก 5 ชาติ ในปี พ.ศ. 2481 และ 73 ชาติ
ในปี พ.ศ. 2493 และในปัจจุบันมีสมาชิกถึง 146 ประเทศ
ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของฟีฟ่า
ทำให้ฟีฟ่าเป็นองค์การกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลก
สมาพันธ์ประจำทวีปของสมาคมฟุตบอลแห่งแรกที่ตั้งขึ้นคือ Conmebol ซึ่งเป็นสมาพันธ์ของอเมริกาใต้ สมาพันธ์นี้ได้ถูกจัดขึ้นเพื่อจัดตั้งเพื่อจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศภายในทวีปอเมริกาใต้ ในปี พ.ศ. 2460
เกือบครึ่งศตวรรษ ต่อมาเมื่การแข่งขันภายในทวีปได้แพร่หลายมากขึ้น
จึงได้มีการจัดตั้งสมาพันธ์ในทวีปอื่นๆ ขึ้นอีกคือสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป
ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งในทวีปเอเชีย และ 2 ปี
ก่อนการจัดตั้งสมาคมฟุตบอลยุโรป ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา (Concacaf)หรือสหพันธ์ฟุตบอลแห่งอเมริกากลาง อเมริกาเหนือ
และแคริบเบี้ยน
ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 และน้องใหม่ในวงการฟุตบอลโลกคือ สมาพันธ์ฟุตบอล
แห่งโอเชียนเนีย (Oceannir)

สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ
สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (Federation International Football Association FIFA)
ก่อตั้งขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2447 โดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศฝรั่งเศส
และประเทศที่เข้าร่วมก่อตั้ง 7 ประเทศคือ
ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน สวีเดน
และสวิตเซอร์แลนด์
มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สมาพันธ์ฟุตบอลที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ
1. Africa (C.A.F.) เป็นเขตที่มีสมาชิกมากที่สุด ได้แก่ ประเทศแอลจีเรีย ตูนิเซีย แซร์ ไนจีเรีย และซูดาน เป็นต้น
2. America-North and Central Caribbean (Concacaf) ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก
คิวบา เอติ เอลซัลวาดอร์
กัวเตมาลา และฮอนดูรัส เป็นต้น
3. South America (Conmebol) ได้แก่ ประเทศเปรู บราซิล อุรุกวัย โบลิเวีย อาร์เจนตินา ชิลี เวเนซุเอลา
อีคิวเตอร์ และโคลัมเบีย
เป็นต้น
4. Asia (A.F.C.)เป็นเขตที่มีสมาชิกรองจากแอฟริกา ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น
ฮ่องกง เลบานอน อิสราเอล อิหร่าน จอร์แดน
และเนปาล เป็นต้น
5. Europe (U.E.F.A.) เป็นเขตที่มีการพัฒนามากที่สุด ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน
ฮังการี
อิตาลี สกอตแลนด์ รัสเซีย สวีเดน สเปน และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น
6. Oceannir เป็นเขตที่มีสมาชิกน้อยที่สุดและเพิ่งจะได้รับการแบ่งแยก ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย
นิวซีแลนด์ ฟิจิ และปาปัวนิวกินี เป็นต้น ซึ่งประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกต้องเสียค่าบำรุงเป็นรายปี
ปีละ 300 ฟรังสวิสส์ หรือประมาณ 2,400 บาท

สหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย

ในทวีปเอเชียมีการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเอเชีย (A.F.C.) เพื่อดำเนินการด้านฟุตบอล ดังนี้
พ.ศ. 2495 มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยมีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่
จากประเทศในเอเชียเข้ามาร่วมการแข่งขันด้วย
จึงได้ปรึกษาหารือกันในการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียขึ้น
พ.ศ. 2497 มีการแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ก็ได้เริ่มตั้งคณะกรรมการจากชาติต่างๆ
ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก 12 ประเทศ
พ.ศ. 2501 มีการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก และมีประเทศเข้าร่วม
เป็นสมาชิกรวมเป็น 35 ประเทศ
พ.ศ. 2509 ฟีฟ่าได้มองเห็นความสำคัญของ A.F.C. จึงได้กำหนดให้มีเลขานุการประจำในเอเชีย
โดยออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด
รวมทั้งเงินเดือน และคนแรกที่ได้รับตำแหน่งคือ Khow Eve Turk
พ.ศ. 2517 ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่เตหะราน ประเทศอิหร่านได้มีการประชุมประเทศสมาชิก A.F.C.
และที่ประชุมได้ลงมติขับไล่อิสราเอล ออกจากสมาชิก และให้จีนแดงเข้าเป็นสมาชิกแทน
ทั้งๆ
ที่จีนแดงไม่ได้เป็นสมาชิกของฟีฟ่า
นับว่าเป็นการสร้างเหตุการณ์ที่ประหลาดใจให้กับบุคคลทั่วไป
เป็นอย่างมากทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลทางการเมือง
พ.ศ. 2519 มีการประชุมกันที่ประเทศมาเลเซีย ปรากฏว่าประเทศสมาชิกได้ลงมติให้ขับไล่
ประเทศไต้หวันออกจากสมาชิก
และให้รับจีนแดงเข้ามาเป็นสมาชิกแทน ทั้งๆ ที่ไต้หวัน
เป็นประเทศที่ร่วมกันก่อตั้งสหพันธ์ขึ้นมา
งานของสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย
1. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Asian Cup
2. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Asian Youth
3. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุมฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
4. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Pre-Olympic
5. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม World Youth
6. ควบคุมการแข่งขัน Kings Cup, President Cup, Merdeka, Djakarta Cup
นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากฟีฟ่าจัดส่งวิทยากรมาช่วยดำเนินการ

สรุปวิวัฒนาการของฟุตบอล
ก่อนคริสตกาล - อ้างถึงการเล่นเกมซึ่งเปรียบเสมือนต้นฉบับของกีฬาฟุตบอลที่เก่าแก่ที่
ได้มีการค้นพบจากการเขียนภาษาญี่ปุ่น-จีน
และในสมัยวรรณคดีของกรีกและโรมัน
ยุคกลาง - ประวัติบันทึกการเล่นในเกาะอังกฤษ อิตาลี และฝรั่งเศส
ปี พ.ศ. 1857 - พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 3 ทรงออกพระราชกฤษฎีกาห้ามเล่นฟุตบอล
เพราะจะรบกวนการยิงธนู
ปี พ.ศ. 2104 - Richardo Custor อาจารย์สอนหนังสือชาวอังกฤษกล่าวถึงการเล่นว่า
ควรกำหนดไว้ในบทเรียนของเยาวชน โดยได้รับอิทธิพลจาการเล่นกาลซิโอในเมืองฟลอเร้นท์
ปี พ.ศ. 2123 -Riovanni Party ได้จัดพิมพ์กติการการเล่นคาลซิโอ
ปี พ.ศ. 2223 -ฟุตบอลในประเทศอังกฤษได้รับพระบรมราชานุเคราะห์จากพระเจ้าชาร์ลที่ 2
ปี พ.ศ. 2391 -ได้มีการเขียนกฎข้อบังคับเคมบริดจ์ขึ้นเป็นครั้งแรก
ปี พ.ศ. 2406 -ได้มีการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น
ปี พ.ศ. 2426 -สมาคมฟุตบอลจักรภพ 4 แห่ง ยอมรับองค์กรควบคุม และจัดตั้งกรรมการระหว่างชาติ
ปี พ.ศ. 2429 -สมาคมฟุตบอลเริ่มทำการฝึกเจ้าหน้าที่ที่จัดการแข่งขัน
ปี พ.ศ. 2431 -เริ่มเปิดการแข่งขันฟุตบอลลีก โดยยินยอมให้มีนักฟุตบอลอาชีพ
และเพิ่มอำนาจการควบคุมให้ผู้ตัดสิน
ปี พ.ศ. 2432 -สมาคมฟุตบอลส่งทีมไปแข่งขันในต่างประเทศ เช่น เยอรมันไปเยือนอังกฤษ
ปี พ.ศ. 2447 - ก่อตั้งฟีฟ่า ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงปารีส เมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2447
โดยสมาคมแห่งชาติคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก สเปน สวีเดน
และสวิตเซอร์แลนด์
ปี พ.ศ. 2480 - 2481 -ข้อบังคับปัจจุบันเขียนขึ้นตามระบบใหม่ขององค์กรควบคุม
โดยใช้ข้อบังคับเก่ามาเป็นแนวทาง

ประวัติฟุตบอลในประเทศไทย


กีฬาฟุตบอลในประเทศไทย ได้มีการเล่นตั้งแต่สมัย "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" รัชกาลที่ 5
แห่งกรุงรัตนโกสิทร์ เนื่องจากสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ส่งพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานยาเธอ
และข้าราชบริพารไปศึกษาวิชาการด้านต่างๆ ที่ประเทศอังกฤษ และผู้ที่นำกีฬาฟุตบอลกลับมายังประเทศไทยเป็นคนแรกคือ
"เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)" หรือ ที่ประชนชาวไทยมักเรียกชื่อสั้นๆว่า "ครูเทพ"

ซึ่งท่านได้แต่งเพลงกราวกีฬาที่พร้อมไปด้วยเรื่องน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง เชื่อกันว่าเพลงกราวกีฬาที่ครูเทพแต่งไว้นี้จะต้องเป็น
"เพลงอมตะ" และจะต้องคงอยู่คู่ฟ้าไทย

เมื่อปี พ.ศ. 2454-2458 ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการครั้งแรก
เมื่อท่านได้นำฟุตบอลเข้ามาเล่นในประเทศไทยได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆมากมาย
โดยหลายคนกล่าวว่า ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ไม่เหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศร้อน
เหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศหนาวมากกว่าและเป็นเกมที่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่นและผู้ชมได้ง่าย
ซึ่งข้อวิจารณ์ดังกล่าวถ้ามองอย่างผิวเผินอาจคล้อยตามได้ แต่ภายหลังข้อกล่าวหาดังกล่าวก็ได้ค่อยหมดไป
จนกระทั่งกลายเป็น กีฬายอดนิยมที่สุดของประชาชนชาวไทยและชาวโลกทั่วทุกมุมโลก

ซึ่งมีวิวัฒนาการดังกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่อไปนี้

พ.ศ. 2440 รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จนิวัติพระนคร กีฬาฟุตบอลได้รับความสนใจมากขึ้นจากบรรดาข้าราชการ
บรรดาครูอาจารย์ ตลอดจนชาวอังกฤษในประเทศไทยและผู้สนใจชาวไทยจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ
กอร์ปกับครูเทพท่านได้เพียรพยายามปลูกฝังการเล่นฟุตบอลในโรงเรียนอย่างจริงจัง
และแพร่หลายมากในโอกาสต่อมา

พ.ศ. 2443 (รศ. 119) การแข่งขันฟุตบอลเป็นทางการครั้งแรกของไทยได้เกิดขึ้น
เมื่อวันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 (รศ. 119) ณ สนามหลวง ซึ่งเป็นสถานที่ออกกำลังกาย
และประกอบงานพิธีต่างๆการแข่งขันฟุตบอลคู่ประวัติศาสตร์ของไทย ระหว่าง "ชุดบางกอก"
กับ "ชุดกรมศึกษาธิการ" จากกระทรวงธรรมการหรือเรียกชื่อการแข่งขันครั้งนี้ว่า
"การแข่งขันฟุตบอลตามข้อบังคับของแอสโซซิเอชั่น" เพราะสมัยก่อนเรียกว่า "แอสโซซิเอชั่นฟุตบอล"
(ASSOCIATIONS FOOTBALL) สมัยปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า "การแข่งขันฟุตบอลของสมาคม"
หรือ "ฟุตบอลสมาคม" ผลการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษดังกล่าวปรากฏว่า "ชุดกรมศึกษาธิการ" เสมอกับ
"ชุดบางกอก" 2-2 (ครึ่งแรก 1-0) ต่อมาครูเทพท่านได้วางแผนการจัดการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนอย่างเป็นทางการพร้อมแปลกติกาฟุตบอล
แบบสากลมาใช้ในการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนครั้งนี้ด้วย

พ.ศ. 2444 (รศ. 120) หนังสือวิทยาจารย์ เล่มที่ 1 ตอนที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2444
ได้ตีพิมพ์เผยแพร่เรื่องกติกาการแข่งขันฟุตบอลสากลและการแข่งขันอย่างเป็นแบบแผนสากล

การแข่งขันฟุตบอลนักเรียนครั้งแรกของประเทศไทยได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2444 นี้
ผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นนักเรียนชายอายุไม่เกิน 20 ปี ใช้วิธีจัดการแข่งขันแบบน็อกเอาต์
หรือแบบแพ้คัดออก (KNOCKOUT OR ELIMINATIONS) ภายใต้การดำเนินการจัดการ
แข่งขันของ "กรมศึกษาธิการ" สำหรับทีมชนะเลิศติดต่อกัน 3 ปี จะได้รับโล่รางวัลเป็นกรรมสิทธิ์

พ.ศ. 2448 (รศ. 124) เดือนพฤศจิกายน สามัคยาจารย์ สมาคม ได้เกิดขึ้นครั้งแรกเป็น
การแข่งขันฟุตบอลของบรรดาครูและสมาชิกครู โดยใช้ชื่อว่า "ฟุตบอลสามัคยาจารย์"

พ.ศ. 2450-2452 (รศ. 126-128) ผู้ตัดสินฟุตบอลชาวอังชื่อ "มร.อี.เอส.สมิธ"
อดีตนักฟุตบอลอาชีพได้มาทำการตัดสินในประเทศไทย เป็นเวลา 2 ปี ทำให้คนไทย
โดยเฉพาะครู-อาจารย์ และผู้สนใจได้เรียนรู้กติกาและสิ่งใหม่ๆเพิ่มขึ้นมาก

พ.ศ. 2451 (รศ. 127) มีการจัดการแข่งขัน "เตะฟุตบอลไกล" ครั้งแรก

พ.ศ. 2452 (รศ. 128) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสวรรคต
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2452 นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของผู้สนับสนุนฟุตบอลไทยในยุคนั้น
ซึ่งต่อมาในปีนี้ กรมศึกษาธิการก็ได้ประกาศใช้วิธีการแข่งขัน "แบบพบกันหมด" (ROUND ROBIN)
แทนวิธีจัดการแข่งขันแบบแพ้คัดออกสำหรับคะแนนที่ใช้นับเป็นแบบของแคนาดา (CANADIAN SYSTEM)
คือ ชนะ 2 คะแนน เสมอ 1คะแนน แพ้ 0 คะแนน และยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงมีความสนพระทัยกีฬาฟุตบอลเป็น
อย่างยิ่งถึงกับทรงกีฬาฟุตบอลเอง และทรงตั้งทีมฟุตบอลส่วนพระองค์เองชื่อทีม "เสือป่า"
และได้เสด็จพระราช ดำเนินประทับทอดพระเนตรการแข่งขันฟุตบอลเป็นพระราชกิจวัตรเสมอมา
โดยเฉพาะมวยไทยพระองค์ทรงเคย ปลอมพระองค์เป็นสามัญชนขึ้นต่อยมวยไทยจนได้ฉายาว่า
"พระเจ้าเสือป่า" พระองค์ท่านทรงพระปรีชาสามารถมาก จนเป็นที่ยกย่องของพสกนิกรทั่วไป
จนตราบเท่าทุกวันนี้

จากพระราชกิจวัตรของพระองค์รัชกาลที่ 6 ทางด้านฟุตบอลนับได้ว่าเป็นยุคทองของไทยอย่างแท้จริง
อีกทั้งยังมีการเผยแพร่ข่าวสาร หนังสือพิมพ์ และบทความต่างๆทางด้านฟุตบอลดังกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่อไปนี้

พ.ศ. 2457 (รศ. 133) พระยาโอวาทวรกิจ" (แหมผลพันชิน) หรือนามปากกา "ครูทอง" ได้เขียนบทความกีฬา
"เรื่องจรรยาของผู้เล่นและผู้ดูฟุตบอล" และ "คุณพระวรเวทย์ พิสิฐ" (วรเวทย์ ศิวะศริยานนท์) ได้เขียน
บทความกีฬา "เรื่องการเล่นฟุตบอล" และ "พระยาพาณิชศาสตร์วิธาน" (อู๋ พรรธนะแพทย์)
ได้เขียนบทความกีฬาที่ประทับใจชาวไทยอย่างยิ่ง "เรื่องอย่าสำหรับนักเลงฟุตบอล"

พ.ศ. 2458 (รศ. 134) ประชาชนชาวไทยสนใจกีฬาฟุตบอลอย่างกว้างขวาง เนื่องจาก กรมศึกษาธิการ
ได้พัฒนาวิธีการเล่น วิธีจัดการแข่งขัน การตัดสิน กติกาฟุตบอลที่สากลยอมรับ
ตลอดจนระเบียบการแข่งขันที่รัดกุมยิ่งขึ้น และผู้ใหญ่ในวงการให้ความสนใจอย่างแท้จริงนับตั้งแต่
พระองค์รัชกาลที่ 6 เองลงมาถึงพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงสามัญชน และชาวต่างชาติ และในปี พ.ศ. 2458 จึงได้มีการแข่งขันฟุตบอลประเภทสโมสรครั้งแรกเป็นการชิงถ้วยพระราชทานและเรียกชื่อการแข่งขัน
ฟุตบอลประเภทนี้ว่า "การแข่งขันฟุตบอลถ้วยทองของหลวง" การแข่งขันฟุตบอลสโมสรนี้เป็นการแข่งขันระหว่าง
ทหาร-ตำรวจ-เสือป่า ซึ่งผู้เล่นจะต้องมีอายุเกินกว่าระดับทีมนักเรียน นับว่าเป็นการเพิ่มประเภทการแข่งขันฟุตบอล

ราชกรีฑาสโมสร หรือสปอร์ตคลับ นับได้ว่าเป็นสโมสรแรกของไทยและเป็นศูนย์รวมของชาวต่างประเทศ
ในกรุงเทพฯ ซึ่งยังอยู่ในปัจจุบัน และสโมสรสปอร์ตคลับเป็นศูนย์กลางของกีฬาหลายประเภท
โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอลได้มีผู้เล่นระดับชาติจากประเทศอังกฤษมาเข้าร่วมทีมอยู่หลายคน
เช่น มร.เอ.พี.โคลปี. อาจารย์โรงเรียนราชวิทยาลัย นับได้ว่าเป็นทีมฟุตบอลที่ดี มีความพร้อมมากทั้งทางด้านผู้เล่น
งบประมาณและสนามแข่งขันมาตรฐาน จึงต้องเป็นเจ้าภาพให้ทีมต่างๆของไทยเรามาเยือนอยู่เสมอ
ทำให้วงการฟุตบอลไทยในยุคนั้นได้พัฒนายิ่งขึ้น และรัชกาลที่ 6 ทรงสนพระทัย
โดยเสด็จมาเป็นองค์ประธานพระราชทานรางวัลเป็นพระราชกิจวัตร ทำให้ประชาชนเรียกการแข่งขันสมัยนั้นว่า
"ฟุตบอลหน้าพระที่นั่ง" และระหว่างพักครึ่งเวลามีการแสดง "พวกฟุตบอลตลกหลวง"
นับเป็นพิธีชื่นชอบของปวงชนชาวไทยสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง และการแข่งขันฟุตบอลสโมสรครั้งแรกนี้
มีทีมสมัครเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 12 ทีม ใช้เวลาในการแข่งขัน 46 วัน (11 ก.ย.-27 ต.ค. 2458)
จำนวน 29 แมตช์ ณ สนามเสือป่า ถนนหน้าพระลาน สวนดุสิต กรุงเทพมหานคร
หรือสนามหน้ากองอำนวนการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติปัจจุบันพระองค์รัชกาลที่ 6
ได้ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการแข่งขันนับว่าฟุตบอลไทยมีระบบ
ในการบริหารมานานนับถึง 72 ปีแล้ว

ความเจริญก้าวหน้าของฟุตบอลภายในประเทศได้แผ่ขยายกว้างขวางทั่วประเทศไปสู่สโมสรกีฬา-ต่าง
จังหวัดหรือชนบทอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วไปภายใต้การสนับสนุนของรัชกาลที่ 6 และพระองค์ท่านทรงเล็งเห็นกาลไกลว่าควรที่ตะตั้งศูนย์กลางหรือสมาคมอย่างมีระบบแบบแผนที่ดี
โดยมีคณะกรรมการบริหารสมาคมและทรงมีพระบรมราชโองการก่อตั้ง "สโมสรคณะฟุตบอลสยาม"
ขึ้นมาโดยพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเล่นฟุตบอลเอง

รัชกาลที่ 6 ได้ทรงมีวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามดังนี้คือ

1. เพื่อให้ผู้เล่นฟุตบอลมีพลานามัยที่สมบูรณ์ 2. เพื่อก่อให้เกิดความสามัคคี 3. เพื่อก่อให้เกิดไหวพริบ
และเป็นกีฬาที่ประหยัดดี 4. เพื่อเป็นการศึกษากลยุทธ์ในการรุกและการรับเช่นเดียวกับกองทัพทหารหาญ

จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว นับเป็นสิ่งที่ผลักดันให้สมาคมฟุตบอลแห่งสยามดำเนินกิจการเจริญก้าวหน้ามา
จนตราบถึงทุกวันนี้ ซึ่งมีกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลดังนี้ พ.ศ. 2458 (ร.ศ. 134)
การแข่งขัน
ระหว่างชาติครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ณ สนามราชกรีฑาสโมสร
(สนามม้าปทุมวันปัจจุบัน) ระหว่าง "ทีมชาติสยาม" กับ "ทีมราชกรีฑาสโมสร" ต่อหน้าพระที่นั่ง
และมี "มร.ดักลาส โรเบิร์ตสัน" เป็นผู้ตัดสิน ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่าทีมชาติสยามชนะ
ทีมราชกรีฑาสโมสร 2-1 ประตู (ครึ่งแรก 0-0) และครั้งที่ 2 เมื่อวันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2458
เป็นการแข่งขันระหว่างชาตินัดที่ 2 แบบเหย้าเยือนต่า หน้าพระที่นั่ง ณ สนามเสือป่าสวนดุสิต
และผลปรากฏว่า ทีมชาติสยามเสมอกับทีมราชกรีฑา สโมสร หรือทีมรวมต่างชาติ 1-1 ประตู (ครึ่งแรก 0-0)


สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย(THE FOOTBALL ASSOCIATION OF THAILAND)

มีวิวัฒนาการตามลำดับต่อไปนี้

พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน พุทธศักราช 2459
และตราข้อบังคับขึ้นใช้ในสนามฟุตบอลแห่งสยามด้วยซึ่งมีชื่อย่อว่า ส.ฟ.ท.
และเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "THE FOOTBALL ASSOCIATION OF THAILAND
UNDER THE PATRONAGE OF HIS MAJESTY THE KING" ใช้อักษรย่อว่า F.A.T.
และสมาคมฯ จัดการแข่งขันถ้วยใหญ่และถ้วยน้อยเป็นครั้งแรกในปีนี้ด้วย

พ.ศ. 2468 เป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลระหว่างชาติ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พุทธศักราช 2468

ชุดฟุตบอลเสือป่าพรานหลวง ได้รับถ้วยของพระยาประสิทธิ์ศุภการ (เจ้าพระยารามราฆพ)
ซึ่งเล่นกับชุดฟุตบอลกรมทหารรักษาวัง เมื่อ พ.ศ. 2459-2460 ได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ โดยชนะ 2 ปีติดต่อกัน
รายนามผู้เล่น
1. ผัน ทัพภเวส
2. ครูเพิ่ม เมษประสาท (พระดรุณรักษา)
3. ครูเธียร วรธีระ (หลวงวิเศษธีระการ)
4. จรูญฯ (พระทิพย์จักษุศาสตร์)
5. ก้อนดิน ราหุลหัต (หลวงศิริธารา)
6. ครูสำลี จุโฬฑก (หลวงวิศาลธีระการ)
7. ครูหับ ปีตะนีละผลิน (หลวงประสิทธิ์นนทเวท)
8. ตุ๋ย ศิลปี (หลวงจิตร์เจนสาคร)
9. แฉล้ม กฤษณมระ (พระประสิทธิ์บรรณสาร)
10. จิ๋ว รามนัฎ (หลวงยงเยี่ยงครู)
11. ลิ้ม ทูตจิตร์ (พระวิสิษฐ์เภสัช)

ชุดฟุตบอลสโมสรกรมหรสพ
ได้รับพระราชทาน "ถ้วยใหญ่" ของสมาคมฟุตบอลแห่งสยาม ในพระบรม
ราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2459
รายนามผู้เล่น
1. ครูเพิ่ม เมษประสาท (พระดรุณรักษา)
2. ครูเธียร วรธีระ (หลวงวิเศษธีระการ)
3. เจ็ก สุนทรกนิษฐ์
4. บุญ บูรณรัฎ
5. ใหญ่ มิลินทวณิช (หลวงมิลินทวณิช)
6. ครูหับ ปีตะนีละผลิน (หลวงประสิทธิ์นนทเวท)
7. ผัน ทัพภเวส
8. ถม โพธิเวช
9. แฉล้ม พฤษณมระ (พระประสิทธิ์บรรณสาร)
10. หลวงเยี่ยงครู (ถือถ้วยใหญ่)
11. เกิด วัชรเสรี (ขุนบริบาลนาฎศาลา)

พ.ศ. 2499 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ครั้งที่ 3 และเรียกว่าข้อบังคับ ลักษณะปกครอง

พ.ศ. 2499 สมาคมฟุตบอลฯ ได้สิทธิ์ส่งทีมฟุตบอลชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขัน
"กีฬาโอลิมปิก" ครั้งที่ 16 นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน เมื่อวันที่ 26
พฤศจิกายน พุทธศักราช 2499 ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย

พ.ศ. 2500 เป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย ซึ่งมีชื่อย่อว่า เอเอฟซี และเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า
"ASIAN FOOTBALL CONFEDERATION" ใช้อักษรย่อว่า A.F.C.

พ.ศ. 2501 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับลักษณะปกครอง ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2503
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับลักษณะปกครอง ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2504-ปัจจุบัน
สมาคมฟุตบอลฯได้จัดการแข่งขันฟุตบอลถ้วยน้อย และถ้วยใหญ่
ซึ่งภายหลังได้จัดการแข่งขันแบบเดียวกันของสมาคมฟุตบอล
อังกฤษคือจัดเป็นประเภทถ้วยพระราชทาน ก, ข, ค, และ ง
และยังจัดการแข่งขันประเภทอื่นๆ อีกเช่น ฟุตบอลนักเรียน
ฟุตบอลเตรียมอุดม ฟุตบอลอาชีวะ ฟุตบอลเยาวชนและอนุชน
ฟุตบอลอุดมศึกษา ฟุตบอลเอฟเอ คัพ ฟุตบอลควีส์ คัพ ฟุตบอลคิงส์คัพ เป็นต้น ฯลฯ
นอกจากนี้ยังได้จัดการแข่งขันและส่งทีมเข้าร่วมกับทีมนานาชาติมากมายจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2511 สมาคมฟุตบอลได้สิทธิ์ส่งทีมฟุตบอลชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งที่ 2
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2511 ณ ประเทศเม็กซิโก


พ.ศ. 2514 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับลักษณะปกครอง ครั้งที่ 6
ชุดฟุตบอลทีมชาติไทย ชุดแรกที่เดินทางไปแข่งขัน "กีฬาโอลิมปิก"
ครั้งที่ 16 ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2499

พ.ศ. 2531 สมาคมฟุตบอลฯ ได้มีโครงการจัดการแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศ
รวมทั้งเชิญทีมต่างประเทศเข้าร่วมแข่งขัน และส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในต่างประเทศตลอดปี
จากสภาพการณ์ปัจจุบันสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศฯ ได้สร้างเกียรติยศชื่อเสียงเป็นที่ปรากฏ
และประจักษ์แจ้งแก่มวลสมาชิกฟุตบอลนานาชาติ ตัวอย่างประเทศเกาหลีได้จัดฟุตบอลเพรสซิเด้นคัพปี 2530 นี้ได้เชิญทีมฟุตบอลชาติไทยเท่านั้นแสดงว่าแสดงว่าสมาคมฟุตบอลของไทยได้บริหารทีมฟุตบอลเป็นทีมที่มีมาตรฐาน
สูงสุดจนเป็นที่ยอมรับของเอเชียในปัจจุบันและต่อจากนี้ไป ในปีพุทธศักราช 2530 นี้ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย
ได้วางแผนพัฒนาทีมฟุตบอลชาติไทยให้ยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้น โดยมีโครงการทีมฟุตบอลชาติไทยชุดถาวรของสมาคมฟุตบอลฯ
เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลชาติไทย ซึ่งนักฟุตบอลทุกคนของสมาคมฯจะได้รับเงินเดือนเดือน ละ 3,000 บาท
ในช่วงปี 2530-2531 นอกจากนี้สมาคมฟุตบอลฯได้วางแผนพัฒนาเกี่ยวกับการฝึกซ้อมและแข่งขันฟุตบอล
โดยนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการฝึกด้วยตลอดจนหาช้างเผือกมาเสริมทีมชาติเพื่อเป็นตัวตายตัวแทนสืบไป ขอใหสโมสรสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านโปรดติดตามและเอาใจช่วยให้สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยจงเจริญรุ่งเรือง
สืบไปชั่วนิจนิรันดร์

บทที่1 การทดสอบสมรรถภาพ

แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย

1.งอตัวข้างหน้า
วัตถุประสงค์             วัดความอ่อนตัว
อุปกรณ์                      1.  ม้าวัดความอ่อนตัว  
                                    2.  เสื่อ  1  ผืน
วิธีการทดสอบ          ให้ผู้รับการทดสอบนั่งเหยียดขาตรง     สอดเท้าเข้าใต้ไม้วัด
โดยเท้าตั้งฉากกับพื้นและชิดกันฝ่าเท้าจรดแนบกับที่ยันเท้า  เหยียดแขนตรงขนานกับพื้นแล้วค่อย ๆ ก้มตัวไปข้างหน้า     ให้มืออยู่บนม้าวัดจนไม่สามารถก้มตัวได้ต่อไปให้ปลายมือเสมอกันและรักษาระยะทางไว้ได้นาน  2  วินาทีขึ้นไป   อ่านระยะจากจุด  "0"  ถึงปลายมือ(ห้ามโยกตัวหรืองอตัวแรงๆ)ดังภาพ
การบันทึก     บันทึกระยะเป็นเซนติเมตร      ถ้าเหยียดจนปลายมือเลยปลายเท้าบันทึกค่าเป็นบวก           ถ้าไม่ถึงปลายเท้าค่าเป็นลบ   ใช้ค่าที่ดีกว่าในการประลอง   2   ครั้ง









2. วิ่งเก็บของ
วัตถุประสงค์ วัดความคล่องตัว
อุปกรณ์                      1. นาฬิกาจับเวลา
2. ทางวิ่งเรียบระหว่างเส้นขนาน  2  เส้น  ห่างกัน   10   เมตร
ชิดด้านนอกของเส้นทั้งสองมีวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง   50   ซม.  ถัดออกไป
จากเส้นเริ่ม      ควรมีทางวิ่งให้วิ่งต่อไปอีกอย่างน้อย   3   เมตร
วิธีการทดสอบ          วางไม้สองท่อนไว้กลางวงที่อยู่ชิดเส้นตรงข้ามเส้นเริ่ม ผู้รับ
การทดสอบยืนให้เท้าข้างหนึ่งชิดเส้นเริ่ม      เมื่อพร้อมแล้วผู้ปล่อยตัวสั่ง  "ไป"          
ให้ผู้รับการทดสอบวิ่งไปหยิบท่อนไม้ในวงกลม   1   ท่อน        วิ่งกลับมาวางในวงกลมหลังเส้นเริ่ม   แล้วกลับตัววิ่งไปหยิบท่อนไม้อีกท่อนหนึ่งวิ่งกลับมาวางไว้ในวงกลมหลังเส้นเริ่มแล้ววิ่งเลยไป    ห้ามโยนท่อนไม้        ถ้าวางไม่เข้าในวงต้องเริ่มต้นใหม่
(ดังภาพ)




การบันทึก    บันทึกเวลาตั้งแต่   "ไป"            จนถึงวางท่อนไม้ท่อนที่  2  ลงและบันทึกเวลาให้ละเอียดถึงทศนิยมอันดับแรกของวินาทีให้ประลอง   2   ครั้งใช้ผลของครั้งที่เวลาดีที่สุด









3. ลุก - นั่ง   30   วินาที
วัตถุประสงค์ วัดความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อท้อง
อุปกรณ์                    1.  นาฬิกาจับเวลา   1   เรือน
                                    2.  เบาะยืดหยุ่นหรือที่นอนบาง ๆ   1   ผืน
วิธีการทดสอบ          จัดผู้รับการทดสอบเป็นคู่         ให้ผู้รับการทดสอบคนแรกนอนหงายบนเบาะเข่างอตั้งเป็นมุมฉาก     เท้าแยกห่างกันประมาณ   30   องศาประสานนิ้วมือรองท้ายทอยไว้   ผู้ทดสอบคนที่   2   คุกเข่าที่ปลายเท้าของผู้ทดสอบ(หันหน้าเข้าหากัน)มือทั้งสองกำและกดข้อเท้าของผู้รับการทดสอบไว้ให้หลังติดพื้นเมื่อผู้ให้สัญญาณบอก  "เริ่มต้น"  พร้อมกับจับเวลา      ผู้รับการทดสอบลุกขึ้นนั่งให้ศอกทั้งสองแตะเข่าทั้งสองแล้วกลับนอนลงในท่าเดิมจนนิ้วมือจรดเบาะจึงกลับลุกขึ้นนั่งใหม่    ทำเช่นนี้ติดต่อไปอย่างรวดเร็วจนครบ  30วินาที(ดังภาพ)







การบันทึก                 บันทึกจำนวนครั้งที่ทำถูกต้องใน         30        วินาที
ข้อควรระวัง               นิ้วมือต้องประสานที่ท้ายทอยตลอดเวลา        เข่างอเป็นมุมฉากในขณะที่นอนลงหลังจากลุกนั่งแล้ว     หลังและคอต้องกลับไปอยู่ที่ตั้งต้น      และห้ามเด้งตัวขึ้นโดยใช้ข้อศอกดันพื้น








4. วิ่งเร็ว     50     เมตร

วัตถุประสงค์           วัดความเร็ว
อุปกรณ์                      1. นาฬิกาจับเวลา   1  เรือน
                                    2. ลู่วิ่ง   50   เมตร       มีเส้นเริ่มและเส้นชัย
                                    3. ธงปล่อยตัวสีแดง
เจ้าหน้าที่                   ผู้ปล่อยตัว   1   คน, ผู้จับเวลา   1   คน, ผู้บันทึก   1   คน
วิธีการทดสอบ          เมื่อผู้ปล่อยให้สัญญาณ"เข้าที่"ให้ผู้รับการทดสอบยืนให้ปลายเท้าข้างใดข้างหนึ่งชิดเส้นเริ่มก้มตัวเล็กน้อยในท่าเตรียมวิ่ง(ไม่ต้องย่อตัวเข้าที่เหมือนการแข่งขันวิ่งระยะสั้น)เมื่อได้ยินสัญญาณปล่อยตัว     ให้ออกวิ่งเต็มที่   จนผ่านเส้นชัย
การบันทึก                 ผู้จับเวลา  1  คนบันทึกเวลาให้ละเอียดถึงทศนิยมอันดับแรกของวินาที









5. ยืนกระโดดไกล
วัตถุประสงค์ วัดความแข็งแรงและพลังกล้ามเนื้อขาและสะโพก
อุปกรณ์                      1. แผ่นยางยืนกระโดดไกลและเบาะรอง
                                    2. ไม้วัด
                                    3. กระบะใส่ผงปูนขาว
เจ้าหน้าที่                   ผู้วัดระยะ   1   คน,ผู้บันทึก  1  คน,ผู้จัดท่า  1  คน
วิธีการทดสอบ          ให้ผู้รับการทดสอบเหยียบผงปูนขาวด้วยส้นเท้า         แล้วยืนปลายเท้าทั้งสองชิดด้านหลังของเส้นเริ่มบนแผ่นยางหรือบนพื้นดินที่เรียบไม่ลื่น            เหวี่ยงแขนไปข้างหน้าอย่างแรงพร้อมกับกระโดดด้วยเท้าทั้งสองข้างไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด
ใช้ไม้วัดทาบตั้งฉากกับเส้นเริ่มและขนานกับขีดบอกระยะ     วัดจนถึงรอบส้นเท้า
ที่ใกล้เส้นเริ่มต้นมากที่สุด        อ่านระยะจากขีดบอกระยะ     กรณีผู้รับการทดสอบเสียหลักหงายหลัง         ก้นหรือมือแตะพื้นให้ประลองใหม่(ดังภาพ)








การบันทึก     บันทึกระยะทางเป็นเซนติเมตร            เอาระยะที่ไกลกว่า
จากการประลอง  2  ครั้ง






6. งอแขนห้อยตัว
วัตถุประสงค์ วัดความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อแขนและไหล่
อุปกรณ์                      1. ราวเดี่ยว      ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าท่อประปาขนาด   1   นิ้ว
                                    2. ม้าสำหรับรองเท้าเวลายืนขึ้นจับราว
                                    3. ผ้าเช็ดมือ
                                    4. นาฬิกาจับเวลา   1   เรือน
เจ้าหน้าที่                   ผู้จัดท่าทางและจับเวลา   1   คน,ผู้บันทึก   1   คน
วิธีการทดสอบ          จัดม้าที่ใช้รองเท้าให้สูงพอที่เมื่อรับผู้การทดสอบยืนตรงบนม้าแล้วคางจะอยู่เหนือราวเล็กน้อย            ผู้รับการทดสอบจับราวด้วยท่าคว่ำมือ มือทั้งสองห่างกันเท้าช่วงไหล่และแขนงอเต็มที่เมื่อให้สัญญาณ"เริ่ม"(พร้อมกับเอาม้าออก)

ผู้รับการทดสอบต้องเกร็งข้อแขนและดึงตัวให้คางอยู่เหนือราวนานที่สุด        ถ้าคางต่ำลงถึงราวให้ยุติการประลอง(ดังรูป)
การบันทึก                 บันทึกเวลาเป็นวินาที   จาก"เริ่ม"จนคางต่ำลงถึงคาง








7.วิ่งทางไกล
วัตถุประสงค์ วัดความทนทานของกล้ามเนื้อขา        สะโพกและความทนทาน
ของระบบไหลเวียนโลหิต
อุปกรณ์                      1.  สนามวิ่งระยะทาง  600     เมตร
                                    2.  นาฬิกาจับเวลา      1          เรือน
                                    3.  เบอร์ติดเสื้อตามจำนวนนักเรียน
เจ้าหน้าที่                   ผู้ปล่อยตัวและผู้จับเวลา   1   คน,ผู้บันทึกตำแหน่ง  1  คนผู้,บันทึกเวลา   1   คน
วิธีการทดสอบ          ให้สัญญาณ"เข้าที่"ผู้รับการทดสอบยืนปลายเท้าข้างใดข้างหนึ่งชิดเส้นเริ่มเมื่อให้สัญญาณ"ไป"ให้ออกวิ่งไปตามเส้นทางที่กำหนด      พยายาม
ใช้เวลาน้อยที่สุดควรรักษาความเร็วให้คงที่     ถ้าไปไม่ไหวอาจหยุดเดินแล้ววิ่งต่อหรือเดินต่อไปจนครบระยะทาง
การบันทึกเวลา         บันทึกเวลาเป็นนาทีและวินาที

















8. แรงบีบมือที่ถนัด
 
วัตถุประสงค์   วัดความแข็งแรงและพลังงานกล้ามเนื้อมือ
อุปกรณ์                     1.  เครื่องมือวัดแรงบีบ
                          2.  ผ้าเช็ดมือ
เจ้าหน้าที่         ผู้แนะนำและอ่านผล   1   คน   ผู้บันทึก   1   คน
วิธีการ              ให้ผู้รับการทดสอบเช็ดมือให้แห้งเพื่อกันลื่นแล้วจับเครื่องมือวัด(ผู้แนะนำช่วยปรับเครื่องวัดให้พอเหมาะ)ยืนตรงปล่อยแขนห้อยข้างลำตัว   แยกแขนออกห่างลำตัวเล็กน้อยกำมือบีบเครื่องวัดจนสุดแรง
การบันทึก        บันทึกผลวัดเป็นกิโลกรัม  บันทึกค่าที่มาของแต่ละมือละเอียดถึง  0.5 กิโลกรัม









ใบบันทึกผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  ……
ชื่อ…………………….……นามสกุล………..……..…………โรงเรียน………………….
อำเภอ………….………จังหวัด…………..…….สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา…………..…..
              อายุ………       เพศ                     ชาย                     หญิง
น้ำหนัก………………กิโลกรัม     ส่วนสูง………….เซนติเมตร
ผลสัดส่วนของร่างกายเทียบจากน้ำหนักและส่วนสูง(ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย)
                         ผอม                                 สมส่วน                                        อ้วน

ที่
รายการ
ผลการทดสอบ
หน่วย
ค่าระดับสมรรถภาพ
1
วิ่งเร็ว   50   เมตร
………………….
วินาที
……………………..
2
ยืนกระโดดไกล
…………………
เซนติเมตร
…………………….
3
แรงบีบมือที่ถนัด
-  มือขวา
-  มือซ้าย

………………..
………………..

กิโลกรัม
กิโลกรัม

3
ลุก   -   นั่ง     30    วินาที
…………………
ครั้ง
……………………..
4
ดึงข้อราวเดี่ยว(ชายอายุ 12 ปีขึ้นไป)
งอแขนห้อยตัว(ชายอายุต่ำกว่า 12 ปี
และหญิง
……………….

………………….
ครั้ง

วินาที
……………………..

……………………….
5
วิ่งเก็บของ
………………….
วินาที
………………………
7

วิ่งทางไกล
-   1,000  เมตร(ชายอายุ 12 ปีขึ้นไป)
-    800   เมตร(หญิงอายุ 12 ปีขึ้นไป)
-   600    เมตร(ชาย/หญิงอายุต่ำกว่า           12 ปี

……………………………………

…………………

นาที
นาที

นาที

………………………
………………………

……………………….
8
งอตัวข้างหน้า
…………………
เซนติเมตร
……………………….
รวมค่าระดับสมรรถภาพทางกาย
………………………
ค่าเฉลี่ยระดับสมรรถภาพทางกาย
………………………

ทดสอบครั้งที่………1………..วันที่…………..เดือน……………………...……………
(ลงชื่อ)…………………………ผู้ประเมิน
 
 

แบบสรุปสัดส่วนของร่างกายนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่   ….  โรงเรียน…………..

เลขที่
ชื่อ  -  นามสกุล
สัดส่วนของน้ำหนักและส่วนสูง
หมายเหตุ
ผอม
สมส่วน
อ้วน
1





2





3





4





5





6





7





8





9





10





11





12





13





ฯลฯ





รวม




ร้อยละ







(ลงชื่อ)………………………………………..ผู้สรุปข้อมูล
(…………………………………….)
ตำแหน่ง……………………………………..
วันที่……….เดือน………………………...………..


แบบสรุประดับสมรรถภาพทางกาย

ชั้นประถมศึกษาปีที่  …..  โรงเรียน…………..

เลขที่
ชื่อ  -  นามสกุล
ระดับสมรรถภาพทางกายนักเรียน
หมายเหตุ
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำมาก
1







2







3







4







5







6







7







8







9







10







11







12







13







ฯลฯ







รวม






ร้อยละ








ครั้งที่    1
(ลงชื่อ)………………………………………..ผู้สรุปข้อมูล
(…………………………………….)
ตำแหน่ง……………………………………..
วันที่……….เดือน………………………...………..
แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม
หน่วยที่  ….. กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพทางกาย
เรื่อง  การทดสอบสมรรถภาพทางกาย  


เลขที่
ชื่อ
 - 
สกุล
ความตั้งใจ
ระเบียบวินัย
ความ
ร่วมมือ
ความ
สนุกสนาน
ความ
มีน้ำใจ
รวมคะ
แนน
ผลการประเมิน
0
1
2
0
1
2
0
1
2
0
1
2
0
1
2
10
ผ่าน
ไม่ผ่าน
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
ฯลฯ





















เกณฑ์การให้คะแนน
ปฏิบัติตนในแต่ละรายการได้ดี              =       2        คะแนน
ปฏิบัติตนพอได้บ้างในแต่ละรายการ      =       1        คะแนน
ปฏิบัติตนไม่ได้ในแต่ละรายการ         =        0       คะแนน                              
                               ถือเกณฑ์ผ่านร้อยละ   50