วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บทที่1 การทดสอบสมรรถภาพ

แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย

1.งอตัวข้างหน้า
วัตถุประสงค์             วัดความอ่อนตัว
อุปกรณ์                      1.  ม้าวัดความอ่อนตัว  
                                    2.  เสื่อ  1  ผืน
วิธีการทดสอบ          ให้ผู้รับการทดสอบนั่งเหยียดขาตรง     สอดเท้าเข้าใต้ไม้วัด
โดยเท้าตั้งฉากกับพื้นและชิดกันฝ่าเท้าจรดแนบกับที่ยันเท้า  เหยียดแขนตรงขนานกับพื้นแล้วค่อย ๆ ก้มตัวไปข้างหน้า     ให้มืออยู่บนม้าวัดจนไม่สามารถก้มตัวได้ต่อไปให้ปลายมือเสมอกันและรักษาระยะทางไว้ได้นาน  2  วินาทีขึ้นไป   อ่านระยะจากจุด  "0"  ถึงปลายมือ(ห้ามโยกตัวหรืองอตัวแรงๆ)ดังภาพ
การบันทึก     บันทึกระยะเป็นเซนติเมตร      ถ้าเหยียดจนปลายมือเลยปลายเท้าบันทึกค่าเป็นบวก           ถ้าไม่ถึงปลายเท้าค่าเป็นลบ   ใช้ค่าที่ดีกว่าในการประลอง   2   ครั้ง









2. วิ่งเก็บของ
วัตถุประสงค์ วัดความคล่องตัว
อุปกรณ์                      1. นาฬิกาจับเวลา
2. ทางวิ่งเรียบระหว่างเส้นขนาน  2  เส้น  ห่างกัน   10   เมตร
ชิดด้านนอกของเส้นทั้งสองมีวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง   50   ซม.  ถัดออกไป
จากเส้นเริ่ม      ควรมีทางวิ่งให้วิ่งต่อไปอีกอย่างน้อย   3   เมตร
วิธีการทดสอบ          วางไม้สองท่อนไว้กลางวงที่อยู่ชิดเส้นตรงข้ามเส้นเริ่ม ผู้รับ
การทดสอบยืนให้เท้าข้างหนึ่งชิดเส้นเริ่ม      เมื่อพร้อมแล้วผู้ปล่อยตัวสั่ง  "ไป"          
ให้ผู้รับการทดสอบวิ่งไปหยิบท่อนไม้ในวงกลม   1   ท่อน        วิ่งกลับมาวางในวงกลมหลังเส้นเริ่ม   แล้วกลับตัววิ่งไปหยิบท่อนไม้อีกท่อนหนึ่งวิ่งกลับมาวางไว้ในวงกลมหลังเส้นเริ่มแล้ววิ่งเลยไป    ห้ามโยนท่อนไม้        ถ้าวางไม่เข้าในวงต้องเริ่มต้นใหม่
(ดังภาพ)




การบันทึก    บันทึกเวลาตั้งแต่   "ไป"            จนถึงวางท่อนไม้ท่อนที่  2  ลงและบันทึกเวลาให้ละเอียดถึงทศนิยมอันดับแรกของวินาทีให้ประลอง   2   ครั้งใช้ผลของครั้งที่เวลาดีที่สุด









3. ลุก - นั่ง   30   วินาที
วัตถุประสงค์ วัดความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อท้อง
อุปกรณ์                    1.  นาฬิกาจับเวลา   1   เรือน
                                    2.  เบาะยืดหยุ่นหรือที่นอนบาง ๆ   1   ผืน
วิธีการทดสอบ          จัดผู้รับการทดสอบเป็นคู่         ให้ผู้รับการทดสอบคนแรกนอนหงายบนเบาะเข่างอตั้งเป็นมุมฉาก     เท้าแยกห่างกันประมาณ   30   องศาประสานนิ้วมือรองท้ายทอยไว้   ผู้ทดสอบคนที่   2   คุกเข่าที่ปลายเท้าของผู้ทดสอบ(หันหน้าเข้าหากัน)มือทั้งสองกำและกดข้อเท้าของผู้รับการทดสอบไว้ให้หลังติดพื้นเมื่อผู้ให้สัญญาณบอก  "เริ่มต้น"  พร้อมกับจับเวลา      ผู้รับการทดสอบลุกขึ้นนั่งให้ศอกทั้งสองแตะเข่าทั้งสองแล้วกลับนอนลงในท่าเดิมจนนิ้วมือจรดเบาะจึงกลับลุกขึ้นนั่งใหม่    ทำเช่นนี้ติดต่อไปอย่างรวดเร็วจนครบ  30วินาที(ดังภาพ)







การบันทึก                 บันทึกจำนวนครั้งที่ทำถูกต้องใน         30        วินาที
ข้อควรระวัง               นิ้วมือต้องประสานที่ท้ายทอยตลอดเวลา        เข่างอเป็นมุมฉากในขณะที่นอนลงหลังจากลุกนั่งแล้ว     หลังและคอต้องกลับไปอยู่ที่ตั้งต้น      และห้ามเด้งตัวขึ้นโดยใช้ข้อศอกดันพื้น








4. วิ่งเร็ว     50     เมตร

วัตถุประสงค์           วัดความเร็ว
อุปกรณ์                      1. นาฬิกาจับเวลา   1  เรือน
                                    2. ลู่วิ่ง   50   เมตร       มีเส้นเริ่มและเส้นชัย
                                    3. ธงปล่อยตัวสีแดง
เจ้าหน้าที่                   ผู้ปล่อยตัว   1   คน, ผู้จับเวลา   1   คน, ผู้บันทึก   1   คน
วิธีการทดสอบ          เมื่อผู้ปล่อยให้สัญญาณ"เข้าที่"ให้ผู้รับการทดสอบยืนให้ปลายเท้าข้างใดข้างหนึ่งชิดเส้นเริ่มก้มตัวเล็กน้อยในท่าเตรียมวิ่ง(ไม่ต้องย่อตัวเข้าที่เหมือนการแข่งขันวิ่งระยะสั้น)เมื่อได้ยินสัญญาณปล่อยตัว     ให้ออกวิ่งเต็มที่   จนผ่านเส้นชัย
การบันทึก                 ผู้จับเวลา  1  คนบันทึกเวลาให้ละเอียดถึงทศนิยมอันดับแรกของวินาที









5. ยืนกระโดดไกล
วัตถุประสงค์ วัดความแข็งแรงและพลังกล้ามเนื้อขาและสะโพก
อุปกรณ์                      1. แผ่นยางยืนกระโดดไกลและเบาะรอง
                                    2. ไม้วัด
                                    3. กระบะใส่ผงปูนขาว
เจ้าหน้าที่                   ผู้วัดระยะ   1   คน,ผู้บันทึก  1  คน,ผู้จัดท่า  1  คน
วิธีการทดสอบ          ให้ผู้รับการทดสอบเหยียบผงปูนขาวด้วยส้นเท้า         แล้วยืนปลายเท้าทั้งสองชิดด้านหลังของเส้นเริ่มบนแผ่นยางหรือบนพื้นดินที่เรียบไม่ลื่น            เหวี่ยงแขนไปข้างหน้าอย่างแรงพร้อมกับกระโดดด้วยเท้าทั้งสองข้างไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด
ใช้ไม้วัดทาบตั้งฉากกับเส้นเริ่มและขนานกับขีดบอกระยะ     วัดจนถึงรอบส้นเท้า
ที่ใกล้เส้นเริ่มต้นมากที่สุด        อ่านระยะจากขีดบอกระยะ     กรณีผู้รับการทดสอบเสียหลักหงายหลัง         ก้นหรือมือแตะพื้นให้ประลองใหม่(ดังภาพ)








การบันทึก     บันทึกระยะทางเป็นเซนติเมตร            เอาระยะที่ไกลกว่า
จากการประลอง  2  ครั้ง






6. งอแขนห้อยตัว
วัตถุประสงค์ วัดความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อแขนและไหล่
อุปกรณ์                      1. ราวเดี่ยว      ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าท่อประปาขนาด   1   นิ้ว
                                    2. ม้าสำหรับรองเท้าเวลายืนขึ้นจับราว
                                    3. ผ้าเช็ดมือ
                                    4. นาฬิกาจับเวลา   1   เรือน
เจ้าหน้าที่                   ผู้จัดท่าทางและจับเวลา   1   คน,ผู้บันทึก   1   คน
วิธีการทดสอบ          จัดม้าที่ใช้รองเท้าให้สูงพอที่เมื่อรับผู้การทดสอบยืนตรงบนม้าแล้วคางจะอยู่เหนือราวเล็กน้อย            ผู้รับการทดสอบจับราวด้วยท่าคว่ำมือ มือทั้งสองห่างกันเท้าช่วงไหล่และแขนงอเต็มที่เมื่อให้สัญญาณ"เริ่ม"(พร้อมกับเอาม้าออก)

ผู้รับการทดสอบต้องเกร็งข้อแขนและดึงตัวให้คางอยู่เหนือราวนานที่สุด        ถ้าคางต่ำลงถึงราวให้ยุติการประลอง(ดังรูป)
การบันทึก                 บันทึกเวลาเป็นวินาที   จาก"เริ่ม"จนคางต่ำลงถึงคาง








7.วิ่งทางไกล
วัตถุประสงค์ วัดความทนทานของกล้ามเนื้อขา        สะโพกและความทนทาน
ของระบบไหลเวียนโลหิต
อุปกรณ์                      1.  สนามวิ่งระยะทาง  600     เมตร
                                    2.  นาฬิกาจับเวลา      1          เรือน
                                    3.  เบอร์ติดเสื้อตามจำนวนนักเรียน
เจ้าหน้าที่                   ผู้ปล่อยตัวและผู้จับเวลา   1   คน,ผู้บันทึกตำแหน่ง  1  คนผู้,บันทึกเวลา   1   คน
วิธีการทดสอบ          ให้สัญญาณ"เข้าที่"ผู้รับการทดสอบยืนปลายเท้าข้างใดข้างหนึ่งชิดเส้นเริ่มเมื่อให้สัญญาณ"ไป"ให้ออกวิ่งไปตามเส้นทางที่กำหนด      พยายาม
ใช้เวลาน้อยที่สุดควรรักษาความเร็วให้คงที่     ถ้าไปไม่ไหวอาจหยุดเดินแล้ววิ่งต่อหรือเดินต่อไปจนครบระยะทาง
การบันทึกเวลา         บันทึกเวลาเป็นนาทีและวินาที

















8. แรงบีบมือที่ถนัด
 
วัตถุประสงค์   วัดความแข็งแรงและพลังงานกล้ามเนื้อมือ
อุปกรณ์                     1.  เครื่องมือวัดแรงบีบ
                          2.  ผ้าเช็ดมือ
เจ้าหน้าที่         ผู้แนะนำและอ่านผล   1   คน   ผู้บันทึก   1   คน
วิธีการ              ให้ผู้รับการทดสอบเช็ดมือให้แห้งเพื่อกันลื่นแล้วจับเครื่องมือวัด(ผู้แนะนำช่วยปรับเครื่องวัดให้พอเหมาะ)ยืนตรงปล่อยแขนห้อยข้างลำตัว   แยกแขนออกห่างลำตัวเล็กน้อยกำมือบีบเครื่องวัดจนสุดแรง
การบันทึก        บันทึกผลวัดเป็นกิโลกรัม  บันทึกค่าที่มาของแต่ละมือละเอียดถึง  0.5 กิโลกรัม









ใบบันทึกผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  ……
ชื่อ…………………….……นามสกุล………..……..…………โรงเรียน………………….
อำเภอ………….………จังหวัด…………..…….สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา…………..…..
              อายุ………       เพศ                     ชาย                     หญิง
น้ำหนัก………………กิโลกรัม     ส่วนสูง………….เซนติเมตร
ผลสัดส่วนของร่างกายเทียบจากน้ำหนักและส่วนสูง(ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย)
                         ผอม                                 สมส่วน                                        อ้วน

ที่
รายการ
ผลการทดสอบ
หน่วย
ค่าระดับสมรรถภาพ
1
วิ่งเร็ว   50   เมตร
………………….
วินาที
……………………..
2
ยืนกระโดดไกล
…………………
เซนติเมตร
…………………….
3
แรงบีบมือที่ถนัด
-  มือขวา
-  มือซ้าย

………………..
………………..

กิโลกรัม
กิโลกรัม

3
ลุก   -   นั่ง     30    วินาที
…………………
ครั้ง
……………………..
4
ดึงข้อราวเดี่ยว(ชายอายุ 12 ปีขึ้นไป)
งอแขนห้อยตัว(ชายอายุต่ำกว่า 12 ปี
และหญิง
……………….

………………….
ครั้ง

วินาที
……………………..

……………………….
5
วิ่งเก็บของ
………………….
วินาที
………………………
7

วิ่งทางไกล
-   1,000  เมตร(ชายอายุ 12 ปีขึ้นไป)
-    800   เมตร(หญิงอายุ 12 ปีขึ้นไป)
-   600    เมตร(ชาย/หญิงอายุต่ำกว่า           12 ปี

……………………………………

…………………

นาที
นาที

นาที

………………………
………………………

……………………….
8
งอตัวข้างหน้า
…………………
เซนติเมตร
……………………….
รวมค่าระดับสมรรถภาพทางกาย
………………………
ค่าเฉลี่ยระดับสมรรถภาพทางกาย
………………………

ทดสอบครั้งที่………1………..วันที่…………..เดือน……………………...……………
(ลงชื่อ)…………………………ผู้ประเมิน
 
 

แบบสรุปสัดส่วนของร่างกายนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่   ….  โรงเรียน…………..

เลขที่
ชื่อ  -  นามสกุล
สัดส่วนของน้ำหนักและส่วนสูง
หมายเหตุ
ผอม
สมส่วน
อ้วน
1





2





3





4





5





6





7





8





9





10





11





12





13





ฯลฯ





รวม




ร้อยละ







(ลงชื่อ)………………………………………..ผู้สรุปข้อมูล
(…………………………………….)
ตำแหน่ง……………………………………..
วันที่……….เดือน………………………...………..


แบบสรุประดับสมรรถภาพทางกาย

ชั้นประถมศึกษาปีที่  …..  โรงเรียน…………..

เลขที่
ชื่อ  -  นามสกุล
ระดับสมรรถภาพทางกายนักเรียน
หมายเหตุ
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำมาก
1







2







3







4







5







6







7







8







9







10







11







12







13







ฯลฯ







รวม






ร้อยละ








ครั้งที่    1
(ลงชื่อ)………………………………………..ผู้สรุปข้อมูล
(…………………………………….)
ตำแหน่ง……………………………………..
วันที่……….เดือน………………………...………..
แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม
หน่วยที่  ….. กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพทางกาย
เรื่อง  การทดสอบสมรรถภาพทางกาย  


เลขที่
ชื่อ
 - 
สกุล
ความตั้งใจ
ระเบียบวินัย
ความ
ร่วมมือ
ความ
สนุกสนาน
ความ
มีน้ำใจ
รวมคะ
แนน
ผลการประเมิน
0
1
2
0
1
2
0
1
2
0
1
2
0
1
2
10
ผ่าน
ไม่ผ่าน
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
ฯลฯ





















เกณฑ์การให้คะแนน
ปฏิบัติตนในแต่ละรายการได้ดี              =       2        คะแนน
ปฏิบัติตนพอได้บ้างในแต่ละรายการ      =       1        คะแนน
ปฏิบัติตนไม่ได้ในแต่ละรายการ         =        0       คะแนน                              
                               ถือเกณฑ์ผ่านร้อยละ   50

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น